วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555


การสื่อสารกับการเรียนการสอน
การบริหารงานข้อมูลของครูที่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในการเรียนการสอนนั้นแตกต่างจากหน้าที่การสอนแบบเก่าทั้งนี้เพราะเนื้อหาวิชาการมีการเปลี่ยนแปลงและขยายตัวอย่างกว้างขวางครูปัจจุบันจะต้องคอยติดตามสอดส่องและศึกษาภาวะของข้อมูลจากสื่อต่างๆอยู่ตลอดเวลาและนำมาเผยแพร่แก่ผู้เรียนในการสอนด้วยเหตุนี้การดำเนินการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพจำเป็นที่ครูจะต้องศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนและการจัดวางข้อมูลตลอดจน  การศึกษา เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสารเสียก่อน
การสื่อสาร(Communication)อาจให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างองค์การ(organization)ต่างๆคือทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยเป็นขบวนการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรื่องราวความคิดและทัศนคติซึ่ง
การสื่อสารอาจจะเกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์หรือมนุษย์กับเครื่องจักรกลหรือระหว่างเครื่องจักรกลกับเครื่องจักรกลก็ได้ตัวอย่างเช่นการพูด คุยกันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือการสื่อสารจาก ผู้เขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ไปยังผู้อ่าน
จำนวนมาก  ซึ่งเรียกว่า การสื่อสารมวลชน (Mass communication)  สำหรบการสื่อสารระหว่าง เครื่องจักรกลกับเครื่องจักรกลนั้น อาจสรุป อธิบายและยกตัวอย่างได้ เช่น ระบบการทำงาน ของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1.  ผู้ส่ง (Sender)
2.  ผู้รับ (Receiver)
3.  สาร (Message)
4. สื่อกลาง (Medium)

1.  ผู้ส่ง (Sender)  เป็นแหล่งที่มา ของสาร และเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรการสื่อสาร ในกรณีของสิ่งมีชีวิต ผู้ส่งจะนำเอาความสามารถ ในการตอบสนองเข้ามาบรรจุไว้ในที่สะสมสาร ซึ่งได้มีการวางสายของการติดต่อสื่อสารไว้แล้ว เรียกขั้นนี้ว่าการเข้ารหัส (Encoder) สารที่ผู้ส่ง รวบรวมและส่งออกไปนั้นเป็นผลผลิตของสิ่ง ต่าง ๆ ที่ผู้ส่งกำลังประสบอยู่ในเวลาและสภาพ แวดล้อมขณะนั้น และผู้รับก็จะสามารถรับไว้ได้ เฉพาะข้อมูลบางชนิดที่ตนมีส่วนสัมพันธ์ ผูกพันเกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น  ส่วนข้อมูลอื่น ๆ
ที่ไม่เกี่ยวข้องผูกพันด้วยมนุษย์ก็จะไม่รับไว้ กล่าวคือมนุษย์เพศชายกับเพศหญิง อาจจะมีการ รับข้อมูลต่างชนิดกัน  หรือบางข้อมูลก็เหมือนกัน ฉะนั้น ข้อมูลทั้งหลายจึงมีสะสมในตัวมนุษย์ แต่ละคน และไม่มีการสะสมในลักษณะนี้ใน สิ่งอื่น ๆ ดั้งนั้น  เวลาที่มนุษย์กำหนดจะส่งข้อมูล ใด ๆ ออกไปก็เท่ากับมนุษย์ได้ส่งข้อมูลจากแหล่ง สะสมภายในตัวของมนุษย์ออกไปยังผู้รับภายนอก
สำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเช่นคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องจักรกลอัตโนมัติจะมีพฤตกรรมในการ สื่อสารแตกต่างกันออกไปคือเครื่องมือเหล่านี้ ไม่มีการเจริญเติบโตและไม่สามารถสะสม เพิ่มเติมหรอขยายอำนาจการสะสมเพิ่มเติมข้อมูล ต่างๆออกไปนอกเหนือจากที่ถูกกำหนดให้มี ไว้แล้วตั้งแต่เริ่มแรกได้ฉะนั้นลำดับและขอบเขต ของพฤติกรรมนี้จะจำกัดและขึ้นอยู่กับการ ตัดสินใจ ครั้งแรกในการสร้างเครื่องมือนั้นขึ้นมา

2.ผู้รับ (Receiver)  เป็นฝ่ายแปลความ ในสารที่ได้รับมา และการพิจารณาตัดสินใจของ ผู้รับก็จะเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดประสิทธิภาพ
ของการติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี  โดยที่การ ตัดสินใจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งอันเนื่องจาก สารนั้นจะต้องเป็นที่ยอมรับและเข้าใจเป็นอย่างเดียว
กันกับผู้ส่ง  ด้วยเหตุดังกล่าว อาจจะสรุปหลักการ สำคัญของการสื่อสารได้ คือ ผู้ส่งจะส่งสาร ไปยังผู้รับ ฉะนั้นผู้รับจะต้องมีความรู้และเข้าใจ
ในสิ่งที่ผู้ส่งส่งมาและแปลความหมายในสารนั้น แล้วตอบกลับไปยังผู้ส่งเช่นนี้เรื่อยไป

3. สาร (Message) คือเนื้อหาหรือข้อมูล ที่ถูกส่งซึ่งการตีความหมายของสารจะอยู่ที่ตัว ผู้รับไม่ได้อยู่ที่ตัวสารเอง เพื่อที่จะให้ผู้รับแสดง พฤติกรรมตามที่ผู้ส่งต้องการ  ผู้ส่งจะต้องเข้ารหัส ข้อมูลที่ต้องส่งนั้นก่อน การเข้ารหัสเป็นวิธีการ เลือกและเรียงลำดับของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งมี ความหมาย และเป็นที่เข้าใจต่อทั้งผู้ส่งและ ผู้รับ เช่น ผู้โฆษณาสินค้าต้องการโฆษณาสินค้า แก่ลูกค้าว่ายาสีฟันของเขาเมื่อใช้แล้วจะรู้สึกเย็น สดชื่น  ปัญหาก็คือผู้โฆษณาจะใช้รหัสชนิดใดจึง จะดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้  ในทำนองเดียวกันกับการเรียนการสอนถ้าครูต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจ ในสารหรือเนื้อหาครูจะต้องเข้ารหัสสารนั้น อย่างรัดกุมที่สุดคือครูจะต้องเลือกใช้คำพูด หรือสัญลักษณ์อื่นๆ ที่ง่ายที่สุดสำหรับครูและ
ผู้เรียน  การเข้ารหัสข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเป็น งานยากอย่างหนึ่งที่ครูจะต้องเผชิญและการเลือก รหัสก็เป็นกุญแจสำคัญที่สุดของการ สื่อสาร
สำหรับข้อมูลที่ผู้ส่งออกไปจะได้รับความสนใจ จากผู้รับปลายทางหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนครั้ง ของการส่งข้อมูลและการส่งข้อมูลจำนวนจำกัด
ซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่าจะได้ผลดีกว่าการส่งข้อมูล จำนวนมาก ๆ แต่น้อยครั้ง ดังนั้นในการเรียน การสอนครูอาจจะเน้นหรือซ้ำเนื้อหา  ในการ
สอนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นการบรรยายซ้ำ ๆ การ กระทำเช่นนี้จะสามารถเพิ่มโอกาส ให้เกิดความ สนใจได้ แต่จะซ้ำครั้งมากน้อยเท่าใด จึงจะมี
ประสิทธิภาพนั้นย่อมแล้วแต่ และอยู่ในดุลยพินิจ ของครูผู้สอนหรือผู้ติดต่อสื่อสารเอง
4.  สื่อกลาง (Medium)  เป็นช่องทาง หรือขอบข่ายของช่องทางที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งกับ ผู้รับเช่นเดียวกันกับที่สินค้าอาจจะถึงปลายทางได้โดย
สื่อกลางของการขนส่งนานาชนิด สารก็เช่นกัน อาจจะผ่านถึงยังผู้รับได้โดยอาศัยสื่อชนิดต่าง ๆ หากแต่ว่าสื่อกลางในการสื่อสารต่างจากสื่อการ
คมนาคมที่ว่า  สื่อกลางการสื่อสารนี้จะจัดรูป ของสาร ให้มีลักษณะเป็นไปตามลักษณะของ สื่อกลางนั้นเอง ตัวอย่างเช่น หนังสือและ
ภาพยนตร์  ข้อมูลที่แพร่มาสู่เราโดยตัวหนังสือ และโดยทาภาพเคลื่อนไหวของภาพยนตร์นั้น มีความต่างกัน  หากผู้รับต้องตัดสินใจวาจะอ่าน หนังสือก่อนแล้วดูภาพยนตร์ทีหลัง  หรือจะดูภาพยนตร์ก่อนแล้วอ่านหนังสือทีหลัง สื่อ ทั้งสองนี้ก็จะมีอิทธิพลต่อการรับรู้ที่ต่างกันด้วย
สื่อกลางทุก ชนิดจะมีอิทธิพลและลักษณะเฉพาะ แฝงตัวอยู่ในตัวของมันเอง จงทำให้สื่อกลางเป็น ส่วนหนึ่งของสารไปด้วย บางครั้งเราจึงไม่อาจ
แยกสื่อกลางและ สารออกจากกันได้ ตัวอย่างเช่น รูปภาพโมนาลิซา  จิตรกรได้สอดแทรกเอาความ ประทับใจไว้ในภาพทั้งหมด เราจึงไม่อาจแยก
ตัวภาพออกจากความหมายได้ ในกรณีที่ผู้ส่งเป็น เครื่องจักร สื่อกลางจะถูกจำกัดตามสภาพของ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เช่น สื่อกลางที่จะใช้
เชื่อมหลอดไฟบนเพดานกับ สวิตช์ไฟบนฝาผนัง จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากสายไฟซึ่ง ต่างกับกรณีของสิ่งมีชีวิต เช่น ครูอาจจะเลือก
สื่อกลางต่าง ๆ ในการติดต่อกับผู้เรียนได้ หลายอยาง เช่น เสียงพูด การเขียน โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือเทปบันทึกเสียง เป็นต้น
ขอบข่ายของสื่อกลางการติดต่อสื่อสาร ที่ส่งออกจากผู้ส่งไปยังผู้รับ และวงจรการติดต่อ สื่อสารจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อขอบข่ายการสื่อสาร
นั้นถูกส่งกลับคืนจากผู้รับมายังผู้ส่งอีกครั้งหนึ่ง ระบบนี้เรียกว่าข้อมูลย้อนกลับ (Feedback infor-mation) ตามวิธีการนี้จะทำให้ระบบการสื่อสาร มีการตรวจแก้ไขภายในตัวเอง ซึ่งจะทำให้การ สื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปแล้วสารจะต้องถูกเข้ารหัส  โดยผู้ส่ง และส่งผ่านไปยังสื่อกลาง ด้วยวิธีที่จะเกิดความ สับสนน้อยที่สุดแก่ผู้รับเพื่อให้ผู้รับทราบความหมาย
ที่ใกล้เคียงที่สุดของสารโดยไม่เข้าใจไปเป็น อย่างอื่น  สารที่สมบูรณ์จะต้องไม่ทำให้ผู้รับเข้าใจ เป็นอย่างอื่นหรืออาจกล่าวได้ว่าทางเลือกยิ่งน้อย
เท่าใดระบบการสื่อสารก็จะได้ผลมากขึ้น

ในระบบการเรียนการสอน   หาก พิจารณากระบวนการเรียนการสอนแล้วจะมี ลักษณะเป็นกระบวนการของการสื่อสารหลายประการทั้งทางด้านองค์ประกอบและ กระบวนการ นั่นคือ ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร โดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับสารซึ่งต้องอาศัยสื่อเป็น
ตัวกลาง  และประสิทธิภาพของการเรียน การสอนนั้นวัดได้ โดยคุณภาพและปริมาณ ของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้เรียนdium (สอ)
ในระบบการเรียนการสอนจะประกอบ ไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ จุดมุ่งหมาย ครู วิธีการสอน สื่อการสอนและผู้เรียนซึ่งแต่ละ องค์ประกอบเหล่านี้ จะต้องมีความสำคัญ เท่าเทียมกันและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด จึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ การทดสอบประสิทธิภาพ อาศัยข้อมูลย้อนกลับเช่นเดียวกับขบวนการของการสื่อสาร ซึ่งต้อง อาศัยข้อมูลย้อนกลับจากผู้รับเป็นเครื่องตรวจสอบ ว่า การถ่ายทอดความคิด หรือการสื่อสารของ
ผู้ส่งสารนั้นได้ผลแล้วหรือยัง และถ้ายังไม่ได้ผลดี จะต้องวิเคราะห์ระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขจน แน่ใจว่าได้ผลจึงใช้สื่อสารต่อไป  ดังนั้น ในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพครูผู้สอน จะต้องมีความเข้าใจและใช้หลักการและ กระบวนการของการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ด้วย
คือจะต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนที่ ชัดเจน สามารถวัดผลและประเมินผลได้ทันที่ มีการ เลือกและจัดลำดับประสบการณ์ที่จะช่วยให้ ผู้เรียนเข้าใจได้ถูกต้องและรวดเร็ว โดยต้องคำนึง ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความเหมาะ สมกับสภาพการณ์และวัตถุประสงค์ครูควร
สามารถเลือกและใช้สื่อกลางในกระบวนการ เรียนการสอนให้ได้ผลดี